banner(1)
banner(2)
banner(3)
banner(4)
เปิดบริการทุกวัน (เวลา 08:30 - 17:30 น.)
GPS Tracking GPS Tracking ติดรถยนต์ คือ อุปกรณ์ติดตามตำแหน่งที่ออกแบบมาให้ติดตั้งในรถ เพื่อทำงานร่วมกับ ระบบติดตามรถ เพื่อตรวจสอบและติดตามการใช้งานรถ ซึ่งจะสามารถตรวจสอบตำแหน่งรถแบบ Realtime ได้ทันที ทำให้ทราบว่า ปัจจุบันรถกำลังมุ่งหน้าไปทางไหน ด้วยความเร็วเท่าไหร่ หรือมีการจอดแวะพักที่ตำแหน่งใดบ้าง เป็นเวลานานเท่าไหร่ หรือสามารถเก็บข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ เช่น สถานะการติดเครื่อง/ดับเครื่องยนต์ ปริมาณน้ำมันในถัง อุณหภูมิห้องสินค้า การตรวจสอบว่าใครเป็นผู้ขับขี่ หรือภาพ Video จากกล้อง ปัจจุบันได้มีการนำ GPS Tracking มาใช้ในการติดตามรถยนต์ส่วนตัวเพื่อเหตุผลในด้านของความปลอดภัยและช่วยในการวางแผนเส้นทาง นอกจากนี้ธุรกิจโลจิสติกส์และขนส่งต่าง ๆ ก็ได้มีการนำ GPS Tracking มาใช้ประโยชน์เช่นกัน ซึ่ง GPS Tracking ก็มีประโยชน์หลักในการเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามยานพาหนะในระบบโลจิสติกส์ เพราะผู้ดูแลระบบสามารถติดตามตำแหน่งของยานพาหนะที่กำลังใช้งานอยู่ได้อย่างแม่นยำ เพื่อการบริหารจัดการการใช้งานยานพาหนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าในธุรกิจรถรับส่งและแท็กซี่ เพราะช่วยสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยในการเดินทาง และที่สำคัญ GPS Tracking จะทำให้ผู้ขับขี่สามารถจัดการเส้นทางเพื่อให้รถเดินทางไปยังปลายทางได้อย่างรวดเร็วที่สุด ไม่เสียเวลากับการเดินทางไปกับพื้นที่ที่รถติดมากหรือหลงทาง ช่วยประหยัดน้ำมัน ประหยัดเวลาได้อีกด้วย
ระบบสัญญาณกันขโมยและกระจกไฟฟ้า สัญญาณกันขโมยรถยนต์ หรือที่ชอบเรียกกันสั้นๆว่า “รีโมทรถยนต์” ซึ่งอุปกรณ์กันขโมยเป็นที่นิยมอย่างมาก หลักการทำงานของสัญญาณกันขโมยรถยนต์ มีไว้เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรม โดยหากประตูรถหรือฝากระโปรงหน้าถูกเปิดออก โดยไม่ได้ผ่านการเปิดจากรีโมท ร่วมถึงการปลดขั้วแบตเตอรี่ออกแล้วต่อใหม่ จะมีเสียงแตรดังเป็นช่วงๆ รวมทั้งไฟหน้า ไฟท้าย และไฟอื่นๆจะกระพริบ เพื่อแจ้งเตือนให้กับคนรอบๆข้างว่า รถคันนี้กำลังถูกขโมย หรือมีเหตุการณ์ไม่ปกติ ซึ่งในชุดสัญญาณกันขโมยรถยนต์ จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้ กล่องควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆของระบบ ชุดล๊อคประตู ทำหน้าที่ล๊อคประตูทุกบาน เมื่อเปิดระบบกันขโมย แตรสัญญาณกันขโมย ทำหน้าที่ส่งเสียงแจ้งเตือนเมื่อมีการเปิดประตูโดยไม่ผ่านรีโมท โดยมากจะดังเป็นเสียงไซเรน แตรรถ ทำหน้าที่เหมือนกับแตรสัญญานกันขโมย โดยจะดังเป็นจังหวะ ๆ ไฟแสดงสถานะของระดับ โดยจะกระพริบเมื่อระบบกันขโมยเปิด ไฟหน้าและไฟท้าย จะกระพริบเมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติ เช่น ประตูเปิดโดยไม่ผ่านรีโมท สวิตช์ต่างๆ เช่น สวิตช์เตือนการเปิดปิดประตูหรือฝากระโปรง สวิตช์เตือนการปลดล๊อคกุญแจ ฯลฯ อุปกรณ์กันขโมยอื่น ๆ เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับในห้องโดยสาร (มีในสัญญาณกันขโมยรถยนต์บางรุ่น)
ระบบส่องสว่าง ระบบส่องสว่าง คือระบบที่มีความสำคัญที่สุดของรถยนต์ เพราะเป็นตัวช่วยในเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานรถในตอนเย็นและตอนกลางคืนรวมถึงในที่ที่มีทัศนวิสัยไม่ดีอุปกรณ์ส่องสว่างที่ซับซ้อนที่ติดตั้งบนรถแต่ละคันจะช่วยให้ ระบบไฟส่องสว่างและสัญญาณไฟช่วยให้คุณสามารถส่องสว่างถนนข้างหน้าคุณเตือนผู้ขับขี่รายอื่นเกี่ยวกับการซ้อมรบแจ้งเกี่ยวกับขนาดของรถ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดบนท้องถนนองค์ประกอบทั้งหมดของระบบไฟจะต้องทำงานได้ดี .ระบบไฟแสงสว่างภายนอกรถยนต์ (Exterior Light) ระบบไฟแสงสวางภายนอกรถยนต์ ทำหน้าที่ใหแสงสว่างภายนอกตัวรถยนต์ เพื่อประโยชน์ในการส่องสว่างพื้นถนนและบอกขนาดความกว้าง – ยาวของตัวรถ ไฟหน้ารถยนต์ (Headlight) ไฟหน้ารถยนต์ เป็นไฟที่ให้แสงสว่างขณะขับขี่ในเวลากลางคืน หรือในเวลาที่ทัศนะวิสัยในการมองเห็นไม่ชัดเจน ไฟหรี่ ไฟท้าย ไฟส่องป้ายทะเบียนรถยนต์ เป็นไฟดวงเล็กติดที่มุมของตัวรถทั้งด้านหน้า ด้านหลังและที่ป้ายทะเบียนรถด้านหลังไฟ ระบบไฟแสงสว่างภายในรถยนต์ (Interior Light) ระบบไฟแสงสว่างที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวรถยนต์ มีหน้าที่ให้แสงสว่างกับบุคคลที่อยู่ภายในตัวรถยนต์ ไฟส่องสว่างห้องโดยสาร (Dome Light) ไฟส่องสว่างห้องโดยสาร เป็นไฟที่ช่วยให้ผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสารสามารถมองเห็นภายในรถยนต์ โดยทั่วไป จะติดตั้งอยู่บนเพดานของห้องโดยสาร ไฟส่องสว่างหน้าปัทม์รถยนต์ ใช้เพื่อให้แสงสว่างบนหน้าปัทม์รถยนต์เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นเกจวัดต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน โดยติดตั้งอยู่ในตัวหน้าปัทม์รถยนต์ (เรือนไมล์) ตามตำแหน่งอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น มิเตอร์วัดความเร็ว มิเตอร์วัดรอบ เกจวัดอุณหภูมิ เกจวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น
กล้องบันทึกเหตุการณ์ หากพูดถึงอุปกรณ์เสริมในยุคปัจจุบันมีอุปกรณ์มากมายหลายอย่างที่ออกแบบมาเพื่อความสะดวกภายในรถยนต์ หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น กล้องติดรถยนต์ หรือ กล้องหน้ารถ จะเห็นได้ทั่วไปในรถยนต์ในยุคนี้ หรือแม้แต่รถตู้ รถบรรทุก รถขนส่ง ก็มีกล้องติดรถเช่นกัน กล้องบันทึกเหตุการณ์หน้ารถยนต์ ทำหน้าที่เป็นกล้องสำหรับบันทึกเหตุการณ์ขณะขับขี่ ถูกออกแบบให้ใช้งานง่าย โดยใช้ไฟฟ้าจากรถยนต์และติดตั้งระบบเปิด – ปิดอัตโนมัติ คือ เมื่อสตาร์ทรถ กล้องจึงจะเริ่มทำงาน และปิดเองเมื่อดับเครื่องยนต์นั่นเอง สำหรับหน่วยความจำของกล้องบันทึกเหตุการณ์ส่วนใหญ่จะใช้หน่วยความจำอย่างเมมโมรีการ์ด เป็นตัวเก็บไฟล์วิดีโอ แต่แน่นอนว่าหากกล้องต้องบันทึกภาพตลอดเวลา หน่วยความจำก็จะเต็มอย่างรวดเร็ว จึงทำให้กล้องหลายรุ่นจะมีระบบจัดการอัตโนมัติ เช่น ลบไฟล์เก่าทิ้ง แบ่งไฟล์เป็นพาร์ทเล็ก ๆ ทำให้ไม่ต้องวุ่นวายในการจัดการกับไฟล์ด้วยตัวเอง เวลาที่เกิดอุบัติเหตุ กล้องเหล่านี้ก็จะเป็นหลักฐานชั้นยอด ในปัจจุบันกล้องบันทึกเหตุการณ์หลายรุ่นจะมีระบบจับการสะเทือนเมื่อเกิดการชน กล้องจะเก็บภาพในช่วงก่อนเกิดเหตุไว้เล็กน้อย และตั้งโปรแกรมป้องกันการบันทึกทับและลบไฟล์ในช่วงดังกล่าว เพื่อเก็บเป็นหลักฐานให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือประกันภัยได้ นอกจากนี้ในกล้องหลายรุ่นยังสามารถบันทึกตำแหน่งของรถจาก GPS ได้โดยจะแสดงผลตำแหน่งที่วิ่งผ่านบนแผนที่ออนไลน์ เมื่อเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ด้วย
แบตเตอร์รี่รถยนต์ แบตเตอรี่เปรียบเสมือนหัวใจของรถยนต์ นั้นเพราะแบตเตอรี่รถยนต์ คือ อุปกรณ์จ่ายกระแสไฟฟ้าและจัดเก็บแหล่งพลังงานไฟฟ้าของรถยนต์ มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมขนาดไม่ใหญ่มาก แบตเตอรี่รถยนต์ทำหน้าที่ป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังอุปกรณ์ส่วนต่าง ๆ ของรถที่ต้องการกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงเพื่อให้ทำงานได้ รวมไปถึงเป็นแหล่งเก็บพลังงานไฟฟ้าสำรองที่ได้รับจากการหมุนของไดร์ชาร์จนั้นเอง โดยหน้าที่หลักแบตเตอร์รี่รถยนต์ค คือ เป็นแหล่งเก็บและสำรองกระแสไฟฟ้า แบตเตอรี่ทำหน้าที่เก็บและสำรองกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากไดชาร์จ หรืออัลเทอร์เนเตอร์ จ่ายไฟตอนสตาร์ทเครื่องยนต์ แบตเตอรี่ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานจ่ายไฟให้แก่สตาร์ทเตอร์ และระบบจุดระเบิดเครื่องยนต์ เพื่อให้เครื่องยนต์หมุนและติดเครื่องได้ จ่ายไฟให้อุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ในขณะที่ดับเครื่อง จ่ายไฟคงที่ให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ ในขณะที่ไม่ได้สตารท์เครื่องยนต์ เช่น ไฟหน้า-หลัง แอร์ วิทยุ ระบบไฟส่องสว่างภายในรถ เป็นต้น
ฟิล์มกรองแสงและลดความร้อนรถยนต์ ปัจจุบันฟิล์มกรองแสงสำหรับรถยนต์เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับรถทุกคัน โดยเฉพาะกับสภาพอากาศในเมืองไทยที่มีแสงแดดร้อนจ้า ทำให้คุณต้องคัดสรรฟิล์มกรองแสงที่ไม่ใช่แค่กันแสงแดดที่เข้ามาในรถ ซึ่งฟิล์มกรองแสงจะเป็นพลาสติกที่ผ่านกรรมวิธีการสังเคราะห์ให้กลายเป็นโพลีเอสเตอร์ที่มีความเหนียว มีความบาง เรียบและไร้รอยย่น และสามารถแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับกระจกที่นำฟิล์มไปติด ซึ่งยึดอยู่บนกระจกได้ด้วยกาวที่มีความใส ไม่ทำให้มองผ่านฟิล์มมีค่าที่บิดเบือนหรือทึบแสงมากจนอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการมองไม่เห็น โดยฟิล์มกรองแสงจะทำหน้าที่ในการลดหรือกรองแสงสว่างที่ผ่านเข้ามาทางกระจก ดังนั้น ฟิล์มกรองแสงทั่วไปจึงมีการย้อมสีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะการกรองแสงสว่างเท่านั้น แต่ฟิล์มกรองแสงที่มีความสามารถ มากกว่าฟิล์มกรองแสงทั่วไป จะต้องสามารถลดความร้อน และรังสีอัลตราไวโอเลตได้เป็นอย่างดี แต่ฟิล์มแบบนี้ก็มีราคาสูงอยู่เหมือนกัน โดยทั่วไปฟิล์มกรองแสงรถยนต์จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ฟิล์มกรองแสงแบบย้อมสี เป็นฟิล์มที่มีคุณสมบัติในการลดแสงสว่าง ที่ผ่านเข้ามาทางกระจกเท่านั้น แต่ไม่ได้มีคุณสมบัติในการลดความร้อน หรือหากมีก็มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเมื่อมีการใช้งานไปสักระยะ ฟิล์มจะเกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีม่วง ซึ่งให้ทัศนวิสัยในการขับขี่รถยนต์ที่ผิดเพี้ยน เป็นอันตราย แต่หากฟิล์มกรองแสงทั่วไปผลิตมาจากโพลีเอสเตอร์คุณภาพสูง จะมีคุณสมบัติในการลดรังสีอัลตราไวโอเลตด้วย ฟิล์มกรองแสงลดความร้อน หรือ ฟิล์มเคลือบโลหะ เป็นฟิล์มกรองแสงที่มีคุณสมบัติในการลดความร้อนที่ผ่านเข้ามาทางกระจกได้ดีกว่าแบบแรก โดยอาศัยคุณสมบัติของไอโลหะที่เคลือบบนฟิล์มในการกรองความร้อน และสะท้อนความร้อน ซึ่งมีผลให้ความร้อนผ่านเข้ามาทางกระจกได้น้อยลง สีของฟิล์มที่ได้จะแตกต่างไปตามประเภทของไอโลหะที่นำมาเคลือบ รวมทั้งยังสามารถย้อมสีของฟิล์มเพื่อให้ฟิล์มมีสีต่างๆ ได้ โดยปกติกระบวนการเคลือบไอโลหะมีขั้นตอนซับซ้อน และค่าใช้จ่ายสูง
เครื่องเสียงรถยนต์ เครื่องเสียงรถยนต์ คือ หมายถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า แหล่งกำเนิดเสียง ที่ใช้ในรถยนต์เพื่อความบรรเทิง หรือเกี่ยวข้องกับกระบวนการขยายเสียง ถ่ายทอดเสียง กระจายเสียง ในภายหลังยังนิยมเรียกรวมถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสัญญาณภาพด้วย หรือเรียกกันว่าภาพและเสียง หรือ มัลติมีเดีย โดยส่วนประกอบของเครื่องเสียงรถยนต์จะมี ดังนี้ ตัวเครื่องเสียง เป็นเหมือนหัวใจเทำหน้าที่ในการรับคำสั่งของผู้ใช้งานและเชื่อมต่อกับระบบต่าง ๆ ให้ครบวงจร ถ้าเป็นรถใหม่จะไม่ต้องกังวลเพราะถูกต่อเอาไว้อย่างเรียบร้อยครบวงจรพร้อมใช้งาน พรีแอมป์ ทำหน้าที่ขยายเสียงสัญญาณมีอยู่หลายชนิดเช่น 5, 7 และ 10 แบนด์ ซึ่งหมายถึงการปรับแต่งเสียงได้ความถี่ 5, 7 และ 10 ย่านความถี่ ยิ่งตัวเลขสูงก็จะหมายถึงเสียงที่ไพเราะมากขึ้น ครอสโอเวอร์ เนื่องจากเสียงมีระดับสูงกลางต่ำ ครอสโอเวอร์จะเป็นตัวแยกระดับเสียงเพื่อจ่ายไปให้ลำโพงแต่ละจุด เพาเวอร์แอมป์ เป็นตัวขยายสัญญาณให้กว้าง เพื่อให้เสียงดังขึ้น ลำโพง เป็นการเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียงที่เราได้ยิน แบ่งเป็นลำโพงด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง ซึ่งจะใช้กับเสียงสูง กลาง และต่ำ ตามลำดับด้วย
ระบบไฟฟ้ารถยนต์ รถยนต์ ถือว่าเป็นยานพาหนะที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดี และไม่ว่าจะเป็นรถยนต์รุ่นไหนก็ตาม ก็จะมีระบบไฟฟ้าที่คอยควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของรถยนต์ สำหรับระบบไฟฟ้ารถยนต์นั้น คือ ระบบที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าเครื่องยนต์ ที่เป็นตัวกลางในการสตาร์ทและรักษาการทำงานของเครื่องยนต์ มีระบบการจ่ายไฟไปยังส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระบบสตาร์ทเครื่องยนต์ (Starter System): ระบบนี้ใช้ในการสตาร์ทเครื่องยนต์ของรถยนต์ เพื่อให้เครื่องยนต์เริ่มทำงาน ระบบไฟแสงสว่างภายนอกรถยนต์ (Exterior Light): ระบบไฟส่องทางและไฟหลังใช้ในการให้แสงส่องทางและไฟสัญญาณที่สำคัญในการขับรถในสภาพแวดล้อมที่มืดหรือมีฝนตก ระบบเครื่องเสียง (Audio System): ระบบนี้รวมถึงวิทยุ, CD/DVD, ลำโพง, และระบบเสียงในรถยนต์อื่น ๆ ระบบแอร์รถยนต์ (Air Conditioning System): เป็นระบบที่ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในรถยนต์ Car Charger : ระบบนี้เป็นการให้แหล่งจ่ายไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์เสริม เช่น โทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต, หรือชาร์จอุปกรณ์อื่น ๆ ระบบสัญญาณและความปลอดภัย (Signal and Safety Systems): ระบบนี้เกี่ยวข้องไฟเตือนภัย, ไฟเลี้ยวขวา – เลี้ยวซ้าย, ระบบเบรกและความปลอดภัยอื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าเพื่อให้รถยนต์ปลอดภัยในการใช้งาน ระบบไฟฟ้าในรถยนต์เป็นส่วนสำคัญของความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการใช้งานรถยนต์ และเมื่อมีปัญหาหรือเสียหาย อาจทำให้รถยนต์ไม่สามารถทำงานอย่างปกติ ดังนั้นการดูแลรักษาระบบไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญในการรักษารถยนต์ให้สมบูรณ์และปลอดภัยในการใช้งาน
ระบบแอร์รถยนต์ ปัจจุบัน รถยนต์เข้ามามีบทบาทส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ช่วยทำให้การเดินทางสะดวกสบายมากขึ้น และสำหรับระบบแอร์รถยนต์ เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในยุคปัจจุบัน ถึงแม้ว่าแอร์รถยนต์จะไม่มีผลต่อการขับขี่ แต่หากรถไม่มีแอร์ ความร้อนจากเครื่องยนต์ที่ส่งผ่านเข้ามาในห้องโดยสาร อาจส่งผลให้ผู้ขับขี่รู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวก็ว่าได้ เนื่องจากอากาศร้อน โดยหลักการทำงานของระบบแอร์รถยนต์ เป็นระบบทำความเย็นแบบอัดไอหรือก๊าซ โดยที่คอมเพรสเซอร์ (Compressor) จะทำหน้าที่ดูดสารทำความเย็นจากอีวาโปเรเตอร์ (Evaporator) สารทำความเย็น ในขณะนั้นยังมีสถานะเป็นแก๊สและคอมเพรสเซอร์ ยังทำหน้าที่อัดสารทำความเย็นออกไปที่คอนเดนเซอร์ (Condenser) ทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิและความดันเพิ่มสูงขึ้น เมื่อสารทำความเย็นไหลผ่านคอนเดนเซอร์จะทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง จากนั้นสารทำความเย็นจะไหลต่อไปยัง รีซีฟเวอร์/ดรายเออร์ (Receiver/Dryer) เพื่อกรองสิ่งสกปรกและความชื้นที่ปนเปื้อนในสารทำความเย็นไหลไปที่ แอ็คเพนชั่นวาล์ว (Expansion Valve) แล้วฉีดเป็นฝอยละอองเข้าไปใน อีวาโปเรเตอร์ ทำให้สารทำความเย็นมีความดันที่ต่ำและดูดความร้อนจากภายนอก เพื่อให้ได้สถานะที่กลายเป็นแก๊ส ทำให้อุณหภูมิภายนอกลดลง หลังจากนั้นสารทำความเย็นที่เป็นแก๊ส ก็จะถูกดูดเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ เพื่อเริ่มต้นการทำงานใหม่อีกครั้ง